วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

ความเป็นมา

นิทานเวตาล

ความเป็นมา

              นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
              ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
              นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่

ประวัติผู้เเต่งเเละลักษณะคำประพันธ์

ประวัติผู้แต่ง
             พระราชวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า น.ม.ส. ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า) รัชนีแจ่มจรัส

 

 ลักษณะคำประพันธ์

           นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า สำนวน น.ม.ส.

เรื่องย่อ

เรื่องย่อ
                      
             เวตาล ณ ฝั่งแม่น้ำโคทาวรี มีพระมหานครนามว่า ประดิษฐาน มีพระมหากษัตริย์หนึ่งนามว่า 

ตริวิกรมเสน พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าวิกรมเสน ต่อมาได้มีนักบวชชื่อ ศานติศีล นำผลไม้มา

ถวายทุกวัน ซึ่งพระราชาแปลกใจ และได้ไปพบในคืนหนึ่งตามนัด เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ นักบวช

ได้ขอนำเวตาลมาให้ตนเพื่อจะประกอบมหายัญพิธี ด้วยจิตใจที่แน่วแน่ของพระราชาจึงไปนำเวตาลมา

ให้โยคี เวตาลรับปากไปด้วยแต่จะเล่าเรื่องนิทาน ๒๔ เรื่องด้วยกัน แต่ละเรื่องจะมีคำถามให้ตอบ โดย มี

ข้อแม้ว่า หากทราบคำตอบแล้วไม่ตอบ ศีรษะของพระราชาจะต้องหลุดจากบ่า และหากพระราชาเอ่ย

ปากพูดเวตาลก็จะกลับไปสู่ที่เดิม ทุกครั้งพระราชาทำให้เวตาลนั้นกลับไปที่เดิมหลายครั้ง และในที่สุด

พระราชาสามารถพาไปหานักบวชได้ เวตาลกล่าวว่านักบวชวางแผนจะทำพิธีเพื่อเอาบัลลังก์ราชา

 เวตาลเสนอวิธีโดยให้ทำตามที่บอก พระราชาก็สามารถรอกจากนักบวชได้ เวตาลได้ประทับใจในตัวพระ

ราชามาก และเวตาลก็ให้ความปรารถนาข้อหนึ่งกับพระมหากษัตริย์ ราชาต้องการฟังเรื่องทั้ง 24 เรื่อง

 เวตาลได้เล่าเรื่องทั้ง 24 เรื่อง ผู้ใดที่ได้ฟังแม้เพียงเรื่องเดียวสามารถรอดพ้นจากคำสาปทั้งมวล พระ

ศิวะได้ฟังเรื่องของเวตาล ก็กล่าวชื่นชมในองค์พระราชามาก และมอบบรรลังก์เป็นจอมราชันแห่งวิทยา

ธรทั้งโลกและสวรรค์แล้ว แต่พระราชก็เกิดความเบื่อหน่าย หันไปบำเพ็ญทางธรรมจนบรรลุ

ความหลุดพ้น 

เนื้อเรื่อง

เนื้อเรื่อง

 
          ณ ฝั่งแม่น้ำโคทาวรี มีพระมหานครนามว่า ประดิษฐาน ที่เมืองนี้มีพระราชาธิบดีองค์หนึ่งทรงนามว่า ตริวิกรมเสน ได้ครองราไชศวรรย์มาด้วยความผาสุก พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าวิกรมเสนผู้ทรงเดชานุภาพเทียมท้าววัชรินทร์ ต่อมาได้มีนักบวชชื่อ ศานติศีล ได้นำผลไม้มาถวายทุกวันมิได้ขาด ซึ่งพระราชาแปลกใจ และได้ไปพบในคืนหนึ่งตามนัด ได้ถามถึงเหตุผลและเพื่อเป็นการ   ตอบแทนบุญคุณ โยคีศานติศีลจอมเจ้าเล่ห์ได้ขอให้นำเวตาลมาให้ตนเพื่อจะประกอบมหายัญพิธี พระราชาผู้มีสัจจะเป็นมั่น ได้ไปนำเวตาลมาให้โยคี แต่เวตาลก็พยายามหน่วงเหนี่ยวด้วยการเล่านิทาน ๒๔ เรื่องด้วยกัน ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีคำถามให้พระราชาตอบ โดย     มีข้อแม้ว่า หากพระราชาทราบคำตอบแล้วไม่ตอบ ศีรษะของพระราชาจะต้องหลุดจากบ่า และหากพระราชาเอ่ยปากพูดเวตาลก็จะ   กลับไปสู่ที่เดิม

          และก็เป็นดังนั้นทุกครั้ง ที่พระราชาตอบคำถามของเวตาล เวตาลก็จะหายกลับไปสู่ต้นไม้ที่สิงที่เดิม พระราชาก็จะกลับไปเอา   ตัวเวตาลทุกครั้ง จนเรื่องสุดท้ายพระราชาไม่ทราบคำตอบ ก็ทรงเงียบไม่พูด เวตาลพอใจในตัวพระราชามาก เพราะเป็นพระราชาผู้ไม่  ย่อท้อ ทำให้เวตาลบอกความจริงในความคิดของโยคี ว่าโยคีนั้นแท้จริงแล้ว ต้องการตำแหน่งราชา โดยจะเอาพระราชาเป็นเครื่องสังเวยในการทำพิธี และอธิบายถึงวิธีกำจัดโยคีเจ้าเล่ห์ เมื่อพระราชาเสด็จมาถึงโยคีตามที่นัดหมายไว้ ก็ปรากฏว่าโยคีได้เตรียมการทำอย่างที่เวตาลได้บอกกับพระราชาไว้ พระราชาจึงแก้โดยทำตามที่เวตาลได้อธิบายให้ฟัง พระราชาจึงได้ตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร และเวตาล  ได้บอกกับพระราชาว่า "ตำแหน่งนี้ได้มาเพราะความดีของพระองค์ ตำแหน่งนี้จะคอยพระองค์อยู่หลังจากที่ทรงเสวยสุขในโลกมนุษย์   จนสิ้นอายุขัยแล้ว ข้าขอโทษในกาลที่แล้วมาในการที่ยั่วยวนประสาทพระองค์ แต่ก็ไม่ทรงถือโกรธต่อข้า บัดนี้ข้าจะถวายพรแก่พระองค์ ขอทรงเลือกอะไรก็ได้ตามใจปรารถนาเถิด" พระราชาก็ตรัสว่า "เพราะเหตุที่เจ้ายินดีต่อข้า และข้าก็ยินดีในความมีน้ำใจของเจ้าเช่นเดียวกัน พรอันใดที่ข้าจะปรารถนาก็เป็นอันสมบูรณ์แล้ว ข้าเพียงแต่อยากจะขออะไรสักอย่างเป็นที่ระลึกระหว่างข้ากับเจ้า นั่นก็คือนิทานที่เจ้ายกปัญหามาถามข้าถึงยี่สิบสี่เรื่อง และคำตอบของข้าก็ให้ไปแล้วเช่นเดียวกัน แลครั้งที่ยี่สิบห้าคือวันนี้ถือเป็นบทสรุป แสดงอวสานของเรื่อง ขอให้นิทานชุดนี้จงมีเกียรติแพร่กระจายไปในโลกกว้าง

          เวตาลก็สนองตอบว่า ขอจงสำเร็จ โอ ราชะ บัดนี้จงฟังเถิด ข้าจะกล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีเด่นของนิทานชุดนี้ สร้อยนิทานอันร้อยรัดเข้าด้วยกันดังสร้อยมณีสายนี้ ประกอบด้วยยี่สิบสี่เรื่องเบื้องต้น แลมาถึงบทที่ยี่สิบห้า อันเป็นบทสรุปส่งท้าย นับเป็นปริโยสาน นิทานชุดนี้จงเป็นที่รู้จักกันในนามของเวตาลปัญจวิงศติ (นิทานยี่สิบห้าเรื่องของเวตาล) จงมีเกียรติยศบันลือไปในโลก และนำความเจริญมาสู่ผู้อ่านทุกคน ใครก็ตามที่อ่านหนังสือแม้แต่โศลกเดียว หรือเป็นผู้ฟังเขาอ่านก็เช่นเดียวกัน จักรอดจากคำสาปทั้งมวล บรรดาอมนุษย์ทั้งหลาย มียักษ์  เวตาล กุษมาณฑ์ แม่มด หมอผีและรากษส ตลอดจนสัตว์โลกประเภทเดียวกันนี้ จงสิ้นฤทธิ์เดชเมื่อได้ยินใครอ่านนิทาน อันศักดิ์สิทธิ์นี้

คำศัพท์

คำศัพท์



พระมหานคร                เป็นนครขนาดใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีประชากรมากกว่าห้าแสนคนในเขตนคร

พระราชาธิบดี               ประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือใน

                                  ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราไชศวรรย์                  สมบัติของพระราชา

ความผาสุก                  ความสําราญ ความสบาย

เดชานุภาพ                  ความสามารถในการทำบางสิ่งบางอย่าง. การมีอำนาจเหนือบางคนหรือบาง

                                  สิ่งคือการสามารถควบคุมหรือบัญชาบุคคลนั้นหรือสิ่งนั้นได้

เวตาล                         เป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่ง คล้ายค้างคาวผี ในปรัมปราคติของฮินดู

มหายัญพิธี                   พิธีเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์.

เครื่องสังเวย                 เครื่องเซ่น เครื่องบูชา ของไหว้

วิทยาธร                       เทวดาจำพวกหนึ่งในชั้นจตุมหาราชิ ด้วยอนุภาพแห่งบุญที่ตนเคยทำไว้       

เสวยสุข                    ได้รับความสุข หาความสุข

ยั่วยวนประสาท           ยั่วยวนกวนโทสะ ทำให้เกิดอารมณ์โมโห

สิ้นฤทธิ์เดช                หมดอํานาจศักดิ์สิทธิ์ หมดแรงอํานาจ

ปริโยสาน                  ที่สุดลงโดยรอบที่สุด จบลงอย่างบริบูรณ์แล้ว

เวตาลปัญจวิงศติ         นิทานเวตาล ๒๕ เรื่อง

โศลก                       สุภาษิต บทประพันธ์    


รากษส                     ยักษ์ร้าย ผีเสื้อนํ้า ชื่อพวกอสู

บทวิเคราะห์เวตาล

บทวิเคราะห์
 คุณค่าด้านปัญญาและความคิด


๑) ความอดทนอดกลั้น   ความอดทนเป็นคำสอนในทุกศาสนา ดังนั้น       เมื่อไม่ตอบปัญหาในเรื่อง เวตาลจึงกล่าวชมว่า ทรงตั้งพระราชหฤทัยดีนัก      พระปัญญาราวกับเทวดาและมนุษย์อื่นที่มีปัญญา จะหามนุษย์เสมอมิได้

๒) ความเพียรพยายาม   เวตาลมักยั่วยุให้พระวิกรมาทิตย์แสดงความคิดเห็นออกมา ทำให้พระองค์ต้องกลับไปปีน  ต้นอโศกเพื่อจับเวตาลใส่ย่ามกลายครั้ง



การใช้สติปัญญา

            การแก้ปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องใช้สติและปัญญาควบคู่กันไป จากนิทานเวตาลเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ปัญญาของพระตริวิกรมเสน อย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาและเอาชนะเวตาลได้ แต่พระองค์ต้องใช้สติประกอบกับปัญญาควบคู่กันไปจึงเอาชนะเวตาลได้

คุณค่าด้านปัญญาและความคิด
1 ความอดทนอดกลั้น
           ความอดทนเป็นคำสอนในทุกศาสนา ดังนั้นเมื่อไม่ตอบปัญหาในเรื่องที่ 10 เวตาลจึงกล่าวชมว่า ทรงตั้งพระราชหฤทัยดีนัก พระปัญญาราวกับเทวดาและมนุษย์อื่นที่มีปัญญา จะหามนุษย์เสมอมิได้
2 ความเพียรพยายาม
            เวตาลมักยั่วยุให้พระวิกรมาทิตย์แสดงความคิดเห็นออกมา ทำให้พระองค์ต้องกลับไปปีนต้นอโศกเพื่อจับเวตาลใส่ย่ามกลายครั้ง
3 การใช้สติปัญญา
            การแก้ปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องใช้สติและปัญญาควบคู่กันไป จากนิทานเวตาลเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ปัญญาของพระวิกรมาทิตย์อย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาและเอาชนะเวตาลได้ แต่พระองค์ต้องใช้สติประกอบกับปัญญาควบคู่กันไปจึงเอาชนะเวตาลได้
4 ความมีสติ
           ความเป็นผู้มีทิฐิมานะ ไม่ยอมในสิ่งที่ไม่พอใจ บางครั้งอาจส่งผลเสียต่อผู้นั้นเอง ดังนั้น การพยายามยับยั้งชั่งใจ  ไม่พูดมากปากไวจนเกินไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะเมื่อใด เราคิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด เมื่อนั้นเราก็มีสติ สติเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นพื้นฐานของสมาธิและปัญญา ถ้าไม่มีสติ สิ่งต่างๆที่เราทำไปหรือตัดสินใจไปโดยไร้สติอาจส่งผลร้ายเกินกว่าจะประเมินได้


คุณค่าด้านความรู้
          การอ่านนิทานเวตาลทำให้ได้รู้ถึงวัฒธรรมและค่านิยมของชาวอินเดียในยุคโบราณ เช่น ค่านิยมที่ชายจะมีภรรยาได้หลายคนโดยเฉพาะชายสูงศักดิ์ เพราะถือส่าเรือนที่อบอุ่นจะต้องมีแม่เรือน